ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่างในพื้นที่ทำงาน

by prawit
394 views
ความปลอดภัยในการทำงาน-แสงสว่างในที่ทำงาน

ปัจจุบันแสงสว่างถือว่ามีความสำคัญในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากเรียกได้ว่าเราต้องใช้แสงสว่างตลอดเวลายกเว้นแค่ตอนนอนหลับเท่านั้น ซึ่งแสงสว่างนั้นมีประโยชน์มากแต่หากพื้นที่การทำงานมีแสงสว่างน้อยเกินไปก็อาจเป็นอันตรายกับดวงตาได้เช่นกัน

หรือหากแสงนั้นจ้าหรือสะท้อนเข้าตาก็เป็นอันตรายเพราะฉะนั้นแสงสว่างในพื้นที่การทำงานควรเป็นไปตามที่มาตรฐานกฎหมายกำหนด ซึ่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องมาตรฐานความเข้มของแสงสว่างได้ให้ความหมายไว้ว่า “ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่าปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตรใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (Lux)

ควรจัดพื้นที่การทำงานอย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

การจัดพื้นที่การทำงานมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ปฏิบัติงาน นอกจากความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านอื่นๆแล้ว ด้านแสงสว่างก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากต้องทำงานที่ใช้สายตาในการตรวจสอบ แต่แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือแสงสะท้อนเกินไป ย่อมส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา และมีอาการอื่นๆ ตามมาได้ ซึ่งในการทำงานนั้น การจัดพื้นที่ทำงานถือเป็นปัจจัยแรกๆ ซึ่งหากเป็นแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทำงานอาจไม่ใช่ปัญหามากนัก เพราะเราสามารถแก้ไขได้ แต่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือเรื่องของแสงที่อาจส่องเข้ามาจากภายนอก ทำให้กระทบกับการปฏิบัติงาน โดยอาจใช้ฉากกั้น ติดฟิล์มกรองแสง หรือหาวิธีการอื่นที่เหมาะสม ถ้าไม่สามารถทำได้ ต้องให้ผู้ปฏบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย เช่น แว่นตาลดแสงหรือกระบังหน้าลดแสง เป็นต้น

แต่หากไม่อยากมาแก้ไขที่ปลายเหตุต้องเริ่มตั้งแต่ออกแบบอาคารหากในช่วงเช้าต้องการใช้แสงจากธรรมชาติอาจออกแบบอาคารให้สามารถรับแสงได้พอแดดแรงก็เอาม่านลงเพื่อป้องกันแสงจ้าเข้าตาผู้ปฏิบัติงานเป็นต้นการเลือกซื้อหลอดไฟก็มีส่วนเช่นกันนอกจากจะเลือกที่ประหยัดไฟแล้วต้องดูค่าความสว่างของหลอดไฟ  และที่สำคัญต้องเลือกที่ถนอมสายตา เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้วย

ควรตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานเมื่อไหร่

1.ควรตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานเมื่อไหร่

การตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน หากเป็นการตรวจวัดประจำปี ต้องตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูว่า พื้นที่การทำงานของเรา ยังมีค่าความเข้มของแสงสว่างเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากจุดไหนไม่ผ่านตามที่กฎหมายกำหนดจะได้แก้ไขให้ผ่าน การตรวจวัดแสงสว่างเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนผังการผลิตหรือมีการติดตั้งโคมไฟใหม่เพิ่มเติมซึ่งจากการณีที่กล่าวมาหากมีการปรับเปลี่ยนแผนผังการผลิตย่อมมีผลกระทบต่อค่าความสว่างเนื่องจากในบางครั้งเรามีการปรับพื้นที่การทำงานแต่โคมไฟยังถูกยึดติดอยู่ที่เดิมส่งผลให้ค่าความสว่างเปลี่ยนแปลงไปจึงมีความจำเป็นต้องตรวจวัดเพื่อดูว่ายังคงอยู่ในค่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่หากแสงสว่างไม่เพียงพอก็ต้องแก้ไขซึ่งวิธีการแก้ไขก็มีหลายวิธีเช่นติดตั้งหลอดไฟเพิ่มเติมหรือเพิ่มแสงสว่างเฉพาะจุดเป็นต้นอยู่ที่ความเหมาะสมของหน้างานในแต่ละพื้นที่

อาจกำหนดเป็นแผนภายในบริษัทเองหากเป็นงานที่มีความละเอียดมากๆซึ่งแสงสว่างมีความจำเป็นในการทำงานอย่างมากอาจกำหนดให้มีการตรวจวัดทุๆเดือนโดยบุคลากรของบริษัทเองเพื่อเป็นการเฝ้าระวังหากพบจุดไหนที่ไม่ผ่านตามที่กำหนดก็สามารถแก้ไขได้ทันที หากเราต้องการทราบว่า แสงสว่างในพื้นที่การทำงานแต่ละจุด ต้องมีค่ามาตรฐานเท่าไหร่ สามารถดูได้จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

ใครบ้างที่สามารถตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานได้

เมื่อกฎกระทรวงกำหนดว่าต้องมีการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน แล้วใครบ้างที่สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่างได้ หากบริษัทเรามีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ จป. ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์ผลของสถานประกอบกิจการที่ จป. ทำงานอยู่ได้ แต่หากสถานประกอบกิจการไม่สามารถดำเนินการเองได้ ก็สามารถใช้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ ให้ดำเนินการแทนได้ โดยรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับแสงสว่าง จะต้องส่งให้กับสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่ตรวจวัดเสร็จสิ้น  และเก็บรายงานไว้ในสถานประกอบกิจการด้วย

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องตรวจสุขภาพตาให้กับพนักงาน

นอกจากจะต้องมีการตรวจวัดแสงสว่างในพื้นที่การทำงานแล้ว ยังต้องมีการตรวจสุขภาพของพนักงานที่อาจได้รับอันตรายจากแสงสว่างด้วย เช่น พนักงานที่ทำงานโดยใช้สายตา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานตรวจสอบชิ้นงาน พนักงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน หรืองานอื่นๆ ซึ่งโดยทั่วไปการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในส่วนของสายตา ก็คือ การตรวจสายตาอาชีวอนามัย นั่นเอง

สรุป

2.เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ต้องตรวจวัดค่าความเข้มแสงสว่างในพื้

เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ต้องตรวจวัดค่าความเข้มแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยบุคคลที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งจัดส่งรายงานภายใน 30 วัน เมื่อตรวจวัดเสร็จสิ้น นอกจากต้องตรวจวัดค่าความเข้มของอสงสว่างแล้วยังต้องมีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่อาจได้รับอันตรายจากแสงสว่างด้วย

jorporthai บริการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานมากกว่า 100 หลักสูตรโดยทีมงานวิทยากรมืออาชีพได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำมากมายเช่นหลักสูตร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

logo จปไทย - master

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by Jorporthai