อบรม จป หัวหน้างาน
หลักสูตร จป หัวหน้างานออนไลน์
หลักสูตร จป. อินเฮ้าส์
บริการอบรม จป หัวหน้างาน ภายในองค์กร 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

คณะกรรมการ (คปอ.)
หลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ทำไมเราถึงต้องอบรม จป หัวหน้างาน
เพื่อให้หัวหน้างานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ จป หัวหน้างานตามกฎหมาย
หลักสูตร จป หัวหน้างานเป็นหลักสูตรที่กฎหมายกำหนดสถานประกอบการไหนที่เข้าข่ายที่จะต้องมี จป หัวหน้างานตามประเภท 14 กิจการจะต้องส่งหัวหน้างานทำการอบรมหลักสูตร จป หัวหน้างานภายใน 15 วันนับจากการตั้งแต่ หากพูดถึงหน้างานตามกฎหมายหลายคนอาจจะสงสัยว่าการหัวหน้าลักษณะใดที่เข้าข่ายต้องทำการอบรม จป หัวหน้างาน โดยใจความสำคัญของกฎหมายแรงงานได้ระบุว่าหากพนักงานคนไหนที่มีลูกน้องหรือบริษัทมอบหมายให้กำกับดูแลพนักงานคนอื่นๆ ไม่ว่าจะแต่งตั้งหรือไม่ก็ตามถือว่าพนักงานคนดังกล่าวทำหน้าที่หัวหน้าในทางปฏิบัติเรียบร้อยแล้วถึงแม้จะไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการก็ตามเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงกฎหมายของสถานประกอบการ

ประกาศกฎหมาย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แนวทางการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19)
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน จป หัวหน้างาน กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
นำวุฒิบัตรผ่านการอบรมไปยื่นขึ้นทะเบียน กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด
สถานที่ และ ช่องทางการให้บริการขึ้นทะเบียนดังนี้
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพมหานครพื้นที่ทุกพื้นที่
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด
วันที่ | สถานที่ | ลงทะเบียน |
---|---|---|
1 – 2 สิงหา..(รุ่น 5 เต็ม ) | ออนไลน์ |
วันที่ | สถานที่ | ลงทะเบียน |
---|---|---|
4 – 5 สิงหา..(รุ่น 1 เต็ม) | ออนไลน์ |
เนื่องจากมีผู้สมัครอบรมออนไลน์เป็นจำนวนมากทำให้แต่ละรุ่นที่นั่งเต็มอย่างรวดเร็ว ศูนย์ฝึกอบรมขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
จป.หัวหน้างานจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานตามประกาศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2540
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนดให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ 14 ประเภทต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานมี 5 ระดับ ดังนี้
- จป ระดับ บริหาร
- จป ระดับ วิชาชีพ
- จป ระดับ เทคนิคขั้นสูง
- จป ระดับ เทคนิค
- จป ระดับ หัวหน้างาน
มาตรา 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคล เพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นําบทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 10 มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน โดยอนุโลม บทลงโทษ คือ มาตรา 56 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 16 หรือมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
(2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสียหรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สินรวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
(3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบินทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
(4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
(5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
(6) โรงแรม
(7) ห้างสรรพสินค้า
(8) สถานพยาบาล
(9) สถาบันทางการเงิน
(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
(11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
(13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (12)
(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
- เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานของหน่วยงาน
- ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรมโดยออกหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
มอบวุฒิบัตรอย่างเป็นทางการ 1 ฉบับ (ใบเซอร์) ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไขการรับวุฒิบัตร
ลงทะเบียนก่อนอบรม
ทำแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนอบรม
เข้ารับการอบรมตามหลักเกณฑ์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ทำแบบทดสอบหลังอบรม
รับวุฒิบัตร
1. ท่านต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนหรือเอกสารที่ราชการออกให้
2. เปิดกล้องตลอดการอบรม 1 ท่าน/เครื่อง เพื่อยืนยันตัวตนตลอดการอบรม
3. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม รอบเช้า 8:00-8:30 | รอบบ่าย 12:30-13:00
4.ทำแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนการอบรม
5.เข้ารับการอบรมระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
6. ระหว่างการอบรมจะมีการสุ่มเช็คชื่อ โดยการจับภาพหน้าจอ หากท่านไม่อยู่ ขอตัดสิทธิ์ในการแจกวุฒิบัตร
7. ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีรายชื่อในใบลงทะเบียนเท่านั้น
8. USERNAME ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ-นามสกุลให้ใช้ชื่อ-นามสกุลจริงตามบัตรประจำตัว
9. ทำการทดสอบหลังการอบรมผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60% ขึ้นไป หากไม่ผ่านเกณฑ์จะไม่ได้รับวุฒิบัตร