ปัจจัยที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงาน

by prawit
3K views

ทำไมการทำงานจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยเพราะหากทุกคนไม่ตระหนักถึงความปลอดภัย อาจเกิดเหตุหรือเกิดอันตรายได้ ซึ่งบางครั้งมีความเสี่ยงถึงขั้นทำให้ต้องเกิดการสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ดังนั้น ความปลอดภัยในการทำงาน จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและต้องตระหนักถึง มาดูกันว่าปัจจัยที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงานและปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงานมีอะไรบ้าง

ความปลอดภัยในการทำงาน คืออะไร

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ อันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงาน ความปลอดภัยในการทำงานจริงๆ แล้วก็คือสภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจากอุบัติเหตุนั่นเอง ส่วนอุบัติเหตุก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน ร่างกาย รวมถึงทรัพย์สินด้วยอาจทำให้บุคคลได้รับบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว

เคล็ดลับทำให้เกิดความปลอดภัยในที่ทำงาน มีดังนี้

2.เคล็ดลับทำให้เกิดความปลอดภัยในที่ทำงาน มีดังนี้

1.ให้พื้นที่ปฏิบัติงานมีความสะอาดอยู่เสมอ คือ การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าทำงานให้แก่พนักงาน และปราศจากอันตราย

2. ใช้ระบบป้องกันอันตรายและการควบคุมด้านวิศวกรรมแทนควบคู่ไปกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) จะต้องค้นหาวิธีป้องกันการรับสัมผัสอันตรายของพนักงานให้ได้ และหาวิธีป้องกัน ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพราะการใช้อุปกรณ์ฯ บางครั้งพนักงานอาจจะไม่สบายตัว ทำให้อาจจะเกิดอันตรายได้

3. ให้ตระหนักว่าพนักงานของคุณต้องการทำงานอย่างปลอดภัยเสมอ

4. อธิบายข้อแนะนำในการปฏิบัติงานให้แก่พนักงานอย่างชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย พนักงานของคุณทุกคน เข้าใจวิธีการที่ถูกต้องในการทำงาน และต้องระบุถึงคำแนะนำด้านความปลอดภัยไว้ในระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกฉบับที่คุณจัดทำขึ้น

5. ไม่เน้นเฉพาะสถานการณ์สมมติที่เป็นสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ให้เน้นไปที่สิ่งหรือสถานการณ์ที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่า มีความรุนแรงมากกว่า (ความเสี่ยงสูงกว่านั่นเอง) คือ ทำการป้องกันมิให้มีอุบัติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เกิดซ้ำอีกได้ คือให้จัดทำบันทึกอุบัติการณ์ต่างๆ ไว้อย่างถูกต้องแม่นยำ แม้ว่าสถิติอุบัติการณ์นี้อาจจะทำให้ดูแย่ในสายตาผู้บริหารที่เป็นผู้บังคับบัญชา

6.ต้องให้ความสำคัญกับพนักงานของตัวเองให้มาก คือ จะต้องดูแลเอาใจใส่พนักงานของตัวเองและบอกให้พวกเขารู้ด้วยว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัย ก็ให้ปิดหรือห้ามใช้เครื่องนั้นเสียก่อนที่จะมีใครได้รับบาดเจ็บ

7. ใช้เวลาศึกษารายละเอียดงานต่างๆ ที่พนักงานปฏิบัติ เมื่อเวลาผ่านไปวิธีการทำงาน อาจจะไม่เหมือนเดิม มีความเป็นไปได้ที่วิธีการทำงานเดียวกันนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน จะต้องมองไปที่สิ่งที่พนักงานกำลังทำอยู่จริงและเปรียบเทียบกับวิธีการทำงานที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งถ้ามีความแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันระหว่างการปฏิบัติจริงกับสิ่งที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ให้ค้นหาให้ได้ว่าเพราะเหตุใด และอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง ปลอดภัยกว่ากัน

8. ดูแลรักษาเครื่องจักรต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากเครื่องจักรชำรุดหรือสึกหรอ ในกรณีการสึกหรอ เครื่องจักรอาจจะค่อยๆ เกิดการสึกหรอและตัวพนักงานเองก็คิดว่านั่นมันเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ แผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพนั้นจะนำมาซึ่งแผนการด้านความปลอดภัยในภาพรวมที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน

9. หลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น จัดหา วัสดุสิ่งของหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยลดอันตรายต่างๆ ที่พนักงานอาจได้รับสัมผัส

10. ดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาด การรับสัมผัสสารและสภาพอันตรายต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ลดน้อยลงได้โดยการทำให้พื้นที่ปฏิบัติงานมีความสะอาดอยู่เสมอ ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงาน

มีปัจจัยใดบ้างที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทราบถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จนนำไปสู่การป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างถูกวิธี สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุโดยหลักๆ แล้วมี 2 สาเหตุ ได้แก่

– สาเหตุที่ 1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่เสื่อมคุณภาพ ชำรุดหรือได้รับความเสียหาย พื้นที่การทำงานสกปรกเต็มไปด้วยสิ่งกรีดขวางหรือเศษขยะ น้ำและน้ำมัน การวางผังไม่ถูกต้อง การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักร ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีกำบังเพื่อป้องกันอันตรายตลอดจนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ เช่น เสียงดัง มีฝุ่นละออง อากาศร้อน ฯลฯ

– สาเหตุที่ 2 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย

การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่หลักที่นำมาสู่การเกิดอุบัติเหตุ โดยคิดเป็น 85% ของอุบัติเหตุทั้งหมดเลยทีเดียว การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ ความประมาท การกระทำที่ขาดความรู้ ปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง ไม่ถูกขั้นตอน ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงาน ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม ผิดประเภท รีบร้อนเพราะต้องการให้งานเสร็จเร็ว ฯลฯ
ปัจจัยที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงาน ก็คือ สาเหตุ และเมื่อทราบสาเหตุแล้วก็จะนำไปสู่แนวทางการป้องกันได้ในลำดับต่อไป การป้องกันอุบัติเหตุมีหลักการหรือวิธีโดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์ คือ ป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้หลักการต่างๆ เช่น หลักการ 5 ส และการป้องกันขณะเกิดอุบัติเหตุ หมายถึง การเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นการลดอันตรายให้น้อยลง เช่นการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหมวกนิรภัย อุปกรณ์ลดเสียง อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า อุปกรณ์ป้องกันมือป้องกันเท้า ป้องกันแขน ขา ร่างกาย ป้องกันระบบการหายใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงานประกอบไปด้วย

3.ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงานประกอบไปด้วย

  • เครื่องมือเครื่องจักรควรมีการป้องกันอันตรายและจัดวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • ผู้ปฏิบัติงานมีการแต่งกายหรือสวมใส่แบบฟอร์มที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติการหรือไม่ อย่างไร
  • ทำความสะอาดพื้นที่ในการทำงานให้เรียบร้อย ตรวจสอบสภาพความพร้อมและวินัยของพนักงาน
  • การระบายอากาศ ควรพิจารณาการไหลเวียนของอากาศเข้า-ออกจากบริเวณที่ทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย
    ควรมีการแยกประเภทของวัสดุและจัดเก็บให้เป็นระเบียบ ควบคุมและดูแลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ สารไวไฟ สารพิษหรือสารเคมีต่างๆ
  • ตรวจสอบระบบฉุกเฉินสม่ำเสมอ เช่น ระบบดับเพลิง ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบการสื่อสารภายในภายนอก การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวที่น่ารู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานทั้งปัจจัยที่ควรทราบด้านความปลอดภัยในการทำงานและ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน หวังว่าทุกคนคงมีความรู้และมีความเข้าใจมากขึ้นเพราะความปลอดภัยคือหัวใจในการทำงาน

ความสำคัญของการมี จป. ในองค์กร

อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรสามารถป้องกันได้ หากทุกองค์กรมี จป. , จป. บริหาร , จป. เทคนิค , จป. วิชาชีพ  หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยปฏิบัติหน้าที่และดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด หรือการทำงานที่มีความอันตราย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

logo จปไทย - master

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by Jorporthai