การพัฒนาทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่การประกอบกิจการเหมืองแร่ ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนและเรียกค่าเสียหายจากผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ต่อเนื่อง
ผลกระทบต่อระบบนิเวศผลกระทบด้านเสียงและฝุ่นจากการใช้วัตถุระเบิด ผลกระทบต่อแหล่งน้ำใต้ดิน และการปนเปื้อนของสารอันตรายในดินผลกระทบทางสังคมในพื้นที่และสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแตกต่างไปตามประเภทแร่และมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น การปนเปื้อนของสารหนูในสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองดีบุกในตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช การปนเปื้อนตะกั่วในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ปัญหามลพิษอากาศจากกิจกรรมการระเบิดหินปูน บริเวณตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี และการทำเหมืองแร่ใต้ดินแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานีและการปนเปื้อนแคดเมียมจากการทำเหมืองสังกะสีในพื้นที่เกษตร รวมถึงกรณีสารพิษจากการทำเหมืองแร่ทองคำในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น พิจิตร เลย
เหมืองแร่ ถือเป็นหนึ่งในสถานประกอบอาชีพที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ภายในสถานประกอบการนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและสุขภาวะชุมชนใกล้เคียง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงอุบัติเหตุจากเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานประกอบการเหมืองแร่อาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ทันที
ด้วยเหตุนี้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนดให้สถานประกอบการเหมืองแร่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยวางแผน กำกับ และดูแลความปลอดภัยในการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอน เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
ผลกระทบจากการทำเหมืองแร่หรือการประกอบสถานประกอบการเหมืองแร่
สภาพการใช้ชีวิตของชุมชนใกล้เคียงลำบากยิ่งขึ้น
เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่ จำเป็นต้องมีการใช้รถสิบล้อขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าและเครื่องจักรที่มีน้ำหนักสูงในทุกวัน ส่งผลให้ถนนเส้นทางหลักที่ชาวบ้านใช้งานเสื่อมสภาพและเกิดการชำรุดอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเศษหินจากการระเบิดและการทำลายผืนป่าเพื่อเปิดหน้าดินยังทำให้ชาวบ้านที่หากินกับแหล่งธรรมชาติเกิดความลำบากยิ่งขึ้น เพราะแหล่งทำมาหากินถูกทำลายลง
ผลเสียด้านสุขภาพของผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
มลภาวะทางเสียงและมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการทำสถานประกอบการเหมืองแร่นับเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการทำเหมืองแร่จำเป็นต้องมีการขุดระเบิดและฉีดน้ำเพื่อช่วยในการเปิดหน้าดินขุดหาแร่ ทำให้จึงต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยคอยควบคุมและดูแลบริเวณสภาพแวดล้อมภายในเหมืองแร่ รวมถึงแหล่งชุมชนใกล้เคียงที่จะได้รับผลกระทบด้านฝุ่นควันและเสียงที่ส่งผลเสียด้านสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของพนักงานและชาวบ้านใกล้เคียง อีกทั้งน้ำขุ่นข้นจากฉีดน้ำแยกแร่ยังทำให้แหล่งน้ำใกล้เคียงมีตะกอนขุ่นและไม่ถูกสุขอนามัยอีกด้วย
ระบบนิเวศที่เสียสมดุล
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการประกอบสถานประกอบการเหมืองแร่จำเป็นต้องมีการระเบิดภูเขา ซึ่งการระเบิดภูเขาหมายถึงว่าคุณกำลังเริ่มต้นทำลายระบบนิเวศองค์รวมให้เกิดการเสียสมดุล เนื่องจากภูเขาเป็นหนึ่งในจุดสำคัญที่เชื่อมต่อกับผืนป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของต้นไม้และสัตว์ที่ช่วยให้ระบบนิเวศเกิดการสมดุล รวมถึงจุดกำเนิดแหล่งน้ำธรรมชาติและสมุนไพรหายากบางชนิด
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยภายในสถานประกอบการเหมืองแร่
- กำกับและดูแลให้ลูกจ้างในสถานประกอบการเหมืองแร่ปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ
- ค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายจากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการเหมืองแร่เพื่อรายงานให้กับนายจ้าง
- สอนวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้องให้ลูกจ้างในสถานประกอบการปฏิบัติตาม
- ตรวจสอบสภาพความพร้อมของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้งานในสถานประกอบการเหมืองแร่ทั้งหมดก่อนปฏิบัติงานทุกวัน
- กำกับและดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในสถานประกอบการเหมืองแร่
- รายงานการประสบอุบัติเหตุอันตราย การเจ็บป่วย และเหตุเดือดร้อนเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างในสถานประกอบการเหมืองแร่ต่อหน่วยความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่างๆ พร้อมแผนปรับปรุงแก้ไขแก่นายจ้าง
- ตรวจสอบหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในสถานประกอบการและนำเสนอแนวทางแก้ไขต่อนายจ้างและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับต่างๆ
- ส่งเสริมและสนับสนุนจัดเตรียมกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างและนายจ้างในสถานประกอบการ
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับสูงและนายจ้างมอบหมาย
อุปสรรคที่ทำให้มาตรการความปลอดภัยในการทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากสถานประกอบการเหมือง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงอันตรายสูงจากการใช้งานเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับใช้งานในเหมืองแร่ หรือจะเป็นการชำรุดของอุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน ทุกปัญหามักเกิดขึ้นจากการขาดระบบจัดเก็บข้อมูล ศึกษาหาสาเหตุ และวางแผนแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ทุกสถานประกอบการเหมืองแร่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ จป. ในการทำงานปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันและลดปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำงานในสถานที่ที่เสี่ยงอันตราย รวมถึงวางแผนเพื่อแก้ไขและเตรียมรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ