ความปลอดภัยในการทำงาน และการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

by prawit
33K views
ความปลอดภัยในการทำงาน-1

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ

ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่เราควรจะเกิดขึ้นภายในชีวิตประจำวันของเรา เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ย่อมต้องพบกับความเสี่ยงมากมายจากหลายๆ ปัจจัย ซึ่งถ้าหากเราประมาทเพียงนิดเดียว ก็ทำให้เราต้องพบกับความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยนั่นเอง เพราะฉะนั้นเพื่อทำให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นได้น้อย

จึงทำให้ความปลอดภัยกลายเป็นสิ่งที่เราควรจะตระหนักเอาไว้ในทุกๆ วันที่เรายังใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งความปลอดภัยนี้ก็ได้ถูกบัญญัติอยู่กฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแก่ทุกๆ คนอย่างเท่าเทียม และยังช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุอีกด้วย และหนึ่งในความปลอดภัยที่เป็นที่พูดถึงนั้น นั่นก็คือ ความปลอดภัยในการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือเอกชน ล้วนแล้วแต่จะต้องได้รับความปลอดภัยทั้งสิ้น และควรจะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพราะเมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต

ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับความปลอดภัยในการทำงานนั้นเราควรที่จะมารู้ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจถึงวิธีการป้องกันอุบัติเหตุในภายหลังโดย

Un-safe-act

สาเหตุของอุบัติเหตุสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนั่นก็ คือ

สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

  • การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
  • ความประมาท
  • การมีนิสัยชอบเสี่ยง
  • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
  • การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • การแต่งกายไม่เหมาะสม
  • การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ

unsafe-condition

สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

  • ส่วนที่มีความเสี่ยงไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
  • การวางผังไม่ถูกต้อง รวมถึงการวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
  • พื้นของโรงงานขรุขระ และยังมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
  • สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
  • เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
  • ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

ดังนั้นแล้ว เพื่อที่จะป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ เราจึงควรที่จะรู้วิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์ ดังนี้

1. การป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

    • หลักการ 5 ส.  ได้แก่

      • สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี – งานเสีย
      • สะดวก หมายถึงการจัดการให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
      • สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ สถานที่ ทั้งก่อนและหลังการใช้งาน
      • สุขลักษณะ หมายถึง การที่จะต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
      • สร้างนิสัย หมายถึง การสร้างนิสัยที่ดีเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานที่

      กฎ 5 รู้

      • รู้ ว่างานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง
      • รู้ ว่าควรเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ อย่างไร
      • รู้ เรื่องเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
      • รู้ ถึงข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
      • รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ 

2. การป้องกันขณะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะมีสิ่งที่ควรรู้หรือหลักการ ดังนี้

การรู้จักการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอวัยวะของร่างกาย ดังนี้

  • หมวกนิรภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า ดวงตา
  • อุปกรณ์ลดเสียง ป้องกันหู
  • อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
  • อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย แขนขา
  • อุปกรณ์ป้องกันมือ
  • อุปกรณ์ป้องกันเท้า

13.3-การปฏิบัติงานโดยใช้การ์ดเครื่องจักร

การปฏิบัติงานโดยใช้การ์ดเครื่องจักร ซึ่งจะมีดังนี้

  • การ์ดเครื่องกลึง
  • การ์ดเครื่องเจียระไน
  • การ์ดปิดส่วนที่หมุนของเครื่องจักร เช่น ฟันเฟือง

3. ป้องกันหลักการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • การอพยพ หลังการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งควรมีการวางแผนการอพยพเอาไว้ก่อน หรือควรรู้จักวิธีการขนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอันตรายให้น้อยลง
  • การสำรวจความเสียหายภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ สิ่งที่เราควรจะรู้ก็ คือ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน อันประกอบไปด้วย

  1. เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน โดยจะมีการตรวจสอบว่ามีความถูกต้องเหมาะสมเพียงใด
  2. อาคารโรงงาน พิจารณาในด้านวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารมีความทนไฟหรือการผุกร่อนและมีอายุงานเท่าใด เป็นต้น
  3. เครื่องมือเครื่องจักรกล มีการป้องกันอันตรายไว้เพียงใด
  4. การทำความสะอาดให้เรียบร้อย รวมถึงตรวจสอบสภาพความพร้อมอีกด้วย
  5. แสงสว่างภายในโรงงาน ที่จำเป็นจะต้องพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า
  6. การระบายอากาศ โดยการพิจารณาการหมุนเวียนของอากาศที่เข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย
  7. ระบบการจัดเก็บและการดูแลควบคุมวัสดุ ซึ่งจะพิจารณาว่ามีแยกประเภทของวัสดุออกตามประเภทหรือไม่
  8. ระบบฉุกเฉิน อาทิ การปฐมพยาบาล การดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน เครื่องช่วยชีวิต เป็นต้น

ดังนั้นแล้ว ความปลอดภัยในการทำงาน จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราควรจะตระหนักเอาไว้อย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต รวมไปถึงสิ่งของมากมายที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยลง โดยจะสามารถแบ่งความปลอดภัยในการทำงานได้เป็น 3 สถานการณ์ โดยเริ่มจาก ก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดอุบัติเหตุแล้ว

ซึ่งทั้งสามสถานการณ์นี้ ล้วนแล้วแต่มีวิธีการที่จะช่วยหยุดการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้ทั้งนั้น และที่ขาดไม่ได้ก็คืออุปกรณ์ในการป้องกันหรือช่วยชีวิต โดยในอุปกรณ์ช่วยชีวิตจะสามารถช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบในยามที่เกิดอุบัติเหตุนั้นได้ทันท่วงที หรือจะเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่จะช่วยทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย แม้ว่าเราจะต้องทำงานอยู่ในที่สูง หรือมีระดับความเสี่ยงอย่างมากเพียงใดก็ตาม ดังนั้นแล้ว ความปลอดภัยในการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพทุกๆ อาชีพนั่นเอง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyright @2025 Jorporthai.  Developed website and SEO by iPLANDIT