หลักเกณฑ์การฝึกอบรม จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร คปอ. ลูกจ้างใหม่

by prawit
303 views
1.หลักเกณฑ์การฝึกอบรม จป หัวหน้างาน จป บริหาร คปอ ลูกจ้างใหม่

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๑) ข้อ ๑๑ (๒) ข้อ ๑๔ (๒) และ (๓) ข้อ ๑๗ (๒) และ (๓) และข้อ ๒๐ (๑) แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน”

ข้อ ๒ ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

หมวด ๑

บททั่วไป

ข้อ ๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน

ข้อ ๔ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคต้องเป็นลูกจ้างซึ่งนายจ้างได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

ข้อ ๕ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องเป็นลูกจ้างที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

ข้อ ๖ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องเป็นลูกจ้างที่มี

คุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

2.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ

(๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๒) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ต้องเข้ารับการฝึกอบรมและได้รับใบรับรองตามข้อ ๑๕ วรรคสอง ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๗ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับบริหาร หรือนายจ้าง
ข้อ ๘ ให้นายจ้างส่งผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๗ แล้วแต่กรณี เข้ารับการฝึกอบรมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตามข้อ ๑๗ พร้อมยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดังกล่าว
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(๒) สำเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
(๓) หนังสือรับรองการเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร สำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร แล้วแต่กรณี
(๔) หนังสือรับรองการเป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพแล้วแต่กรณีในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ให้นายจ้างยื่นเอกสารตาม (๑) และ (๒) พร้อมเอกสารแสดงความเป็นนายจ้าง เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามวรรคหนึ่ง

หมวด ๒

หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

———————–

ข้อ ๙ หลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
ข้อ ๑๐ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละหลักสูตรตามข้อ ๙ ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) ไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
(๓) ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบชั่วโมง สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
(๔) ไม่น้อยกว่าสี่สิบสองชั่วโมง สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
(๕) ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

หมวด ๓

การประเมินผล การทดสอบ และการรับรองผลการฝึกอบรม

———————–

ข้อ ๑๑ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานระดับเทคนิค หรือระดับบริหารต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรตามข้อ ๙ และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อ ๑๒ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของระยะเวลาการฝึกอบรมในแต่ละหมวดวิชาของหลักสูตรตามข้อ ๙ และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องผ่านการทดสอบตามข้อ ๑๔
ข้อ ๑๓ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรตามข้อ ๙ และได้รับการประเมินความรู้จากหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งต้องผ่านการทดสอบตามข้อ ๑๔
ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานส่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเข้ารับการทดสอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองให้เป็นหน่วยงานทดสอบ ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

การทดสอบหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง ประกอบด้วยข้อสอบปรนัย และข้อสอบอัตนัยแยกแต่ละหมวดวิชาการทดสอบหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพแบ่งออกเป็นการทดสอบภาคทฤษฎี ประกอบด้วย ข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัยแยกแต่ละหมวดวิชา และการทดสอบภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทดสอบตามวรรคสองและวรรคสาม ให้ถือเกณฑ์ผ่านด้วยคะแนนไม่ต่ำร้อยละหกสิบของแต่ละหมวดวิชาในกรณีที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ในหมวดวิชาใด ให้ผู้นั้นเข้าทดสอบในหมวดวิชาที่ไม่ผ่านได้อีกหนึ่งครั้ง หากยังไม่ผ่าน ให้ผู้นั้นเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบเฉพาะในหมวดวิชานั้นใหม่

ข้อ ๑๕ ให้หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค หรือระดับบริหาร ให้หน่วยงานทดสอบตามข้อ ๑๔ เป็นผู้ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ

หมวด ๔

หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

———————–

3.หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ ๑๖ หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
(๑) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอนสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(๒) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
(๓) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(๔) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
(๕) นายจ้างซึ่งมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ เฉพาะการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหารให้แก่ลูกจ้างของนายจ้างนั้น

ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียน รวมทั้งการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดให้หน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง สามารถดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานได้คราวละสามปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน

ข้อ ๑๘ หน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานที่อธิบดีกำหนดตามข้อ ๑๗ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒) สั่งให้หยุดการดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเป็นการชั่วคราว
(๓) เพิกถอนการขึ้นทะเบียน

บทเฉพาะกาล

———————–

ข้อ ๑๙ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหาร ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อนหรือหลังวันที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับ และผ่านการฝึกอบรมภายในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ ให้ถือว่าผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน หรือระดับบริหารตามประกาศนี้

ข้อ ๒๐ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับ ซึ่งผ่านการทดสอบ และนายจ้างได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ภายในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติตามข้อ ๖ (๒)

ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

หากสนใจอบรม จป.หัวหน้างาน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ทางเบอร์โทร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

logo จปไทย - master

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by Jorporthai