คปอ. ย่อมาจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรเพื่อดำเนินงานด้านความปลอดภัย โดยมีตัวแทนจากผู้บริหาร ตัวแทนจากลูกจ้าง และ จป. วิชาชีพ เป็นเลขานุการ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริม และจัดกิจกรรมสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องกับตามที่กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนด
ในส่วนของการเลือกตั้ง คปอ. ย่อมาจาก คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละสถานประกอบกิจการนั้นมีขั้นตอนการคัดเลือกจากการลงคะแนนเสียงจากพนักงานทุกฝ่ายภายในสถานประกอบกิจการ เพื่อเลือกสรรตัวแทนจากฝ่ายลูกจ้าง แต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของพนักงานโดยชอบธรรม โดยหลังจากที่มีการคัดเลือก คปอ. เรียบร้อยแล้ว นายจ้างและฝ่ายบุคคลของสถานประกอบกิจการต้องส่งกลุ่ม คปอ. ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม คปอ. เพื่อเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนด
สถานประกอบกิจการใดบ้าง ?
ที่ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)
ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ของสถานประกอบกิจการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ หรือภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบห้าสิบคน โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยคน ให้มีกรรมการไม่น้อยกว่าห้าคน ประกอบด้วย
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารหนึ่งคน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาหนึ่งคน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้างสองคน เป็นกรรมการ
– โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๒) สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป แต่ไม่ถึงห้าร้อยคน ให้มีกรรมการไม่น้อยกว่าเจ็ดคน ประกอบด้วย
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารหนึ่งคน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาสองคน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้างสามคน เป็นกรรมการ
– โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหนึ่งคน เป็นกรรมการและเลขานุการ
(๓) สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างห้าร้อยคนขึ้นไป ให้มีกรรมการไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน ประกอบด้วย
– นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารหนึ่งคน เป็นประธานกรรมการ
– ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาสี่คน เป็นกรรมการ
– ผู้แทนลูกจ้างห้าคน เป็นกรรมการ
– โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหนึ่งคน เป็นกรรมการและเลขานุการ
คปอ. มีหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดอย่างไร
บทบาทหน้าที่ของคปอ. ย่อมาจาก คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 ข้อ ตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
- พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายอันเกิดจากการทำงานเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- รายงานและนำเสนอมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยทุกฝ่ายที่เข้ามาใช้บริการและปฏิบัติหน้าที่ภายในสถานประกอบกิจการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- พิจารณาข้อบังคับและคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นภายในสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
- พิจารณาแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงแผนการอบรมเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างหัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ที่ลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
- ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
- รายงานผลปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของ คปอ. ย่อมาจากคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการที่ปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
อบรม คปอ. กับ Jorporthai ผู้นำทางด้านการรับอบรม คปอ. อันดับหนึ่ง
หลักสูตรอบรม คปอ. ย่อมาจาก หลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการทำงาน ของ Jorporthai เป็นหลักสูตรออนไลน์ ระยะเวลา 2 วัน หรือ 12 ชั่วโมง ที่เรียนผ่านระบบ Zoom ด้วยคุณภาพภาพและเสียงในระดับ Full HD มีความคมชัดเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรม คปอ. ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขที่ใบอนุญาต จป 63 – 010 รวมถึงมีมาตรฐานด้านระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 การประกันคุณภาพ มั่นใจได้ว่ากระบวนการต่างๆ และหลักสูตรอบรม คปอ. ของเรานั้นมีมาตรฐาน ได้รับการควบคุม และสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ทางเรายินดีให้บริการอบรม คปอ. ทั้งแบบ In House และแบบ Public บุคคลทั่วไป เพื่อที่ทุกหน่วยงานและสถานประกอบกิจการสามารถวางแผนงานให้เหมาะสมกับองค์กรของคุณได้อย่างไม่ต้องกังวล หากใครที่กำลังหาศูนย์ฝึกอบรม คปอ. ให้กับลูกจ้างของคุณ สามารถติดต่อขอข้อมูลและสมัครอบรม คปอ. กับทีมงานของเราได้ผ่านการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ หรือสามารถติดต่อสอบถามแอดมินได้ผ่านทางระบบ LINE Official Account ของเรา : https://lin.ee/5JEDykZ