กำหนดการฝึกอบรม จป.ระดับหัวหน้างาน

by prawit
505 views
กำหนดการฝึกอบรม-จป

หลักสูตร อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙  บังคับให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

1.สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(๑) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(๒) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(๔) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(๕) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(๖) โรงแรม

(๗) ห้างสรรพสินค้า

(๘) สถานพยาบาล

(๙) สถาบันทางการเงิน

(๑๐) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(๑๑) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(๑๒) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(๑๓) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)

(๑๔) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

ดำเนินการ แต่งตั้งลูกจ้างระดับหัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน พิจารณาตามประเภทสถานประกอบกิจการและจำนวนพนักงงาน คือ สถานประกอบกิจการตาม ข้อ ๑ (๑) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๖) ถึง (๑๔) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กำกับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓

(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ

(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(๔) ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน

(๕) กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ

(๖) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ

(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน

(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

ดังนั้นเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

(๒) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการปฏิบัติได้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในบาทบาทหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาอันตราย และพิจารณาหาแนวทางวิธีการควบคุม ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

2.พนักงานระดับหัวหน้างาน ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงาน

พนักงานระดับหัวหน้างาน ที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชา สั่งงาน ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ในส่วนงานนั้น

จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-60 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

– ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 12 ชั่วโมง
– แบบทดสอบก่อน และหลังการฝึกอบรม

สิ่งที่จะได้รับหลังการอบรม วุฒิบัตรผ่านการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

วันที่ 1

08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน ทำแบบทดสอบก่อนการฝึกอบรม

09.00-10.30 น.
หมวดที่ ๑ ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
– ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และอาชีอนามัย

10.30-10.45 น.
พักเบรค

10.45-12.15 น.
– บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ หัวหน้างาน

12.15-13.15 น.
พักรับประทานอาหาร

13.15-14.30 น.
หมวดที่ ๒ กฎความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
– การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

14.30-14.45 น.
พักเบรค

14.45-16.30 น.
– สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ


วันที่ 2

08.30-09.00 น.
ลงทะเบียน

09.00-10.30 น.
หมวดที่ ๓ การค้นหาอันตรายจากการทำงาน
– การตรวจความปลอดภัย
– การวิเคราะห์งาน เพื่อความปลอดภัย

10.30-10.45 น.
พักเบรค

10.45-12.15 น.
– การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ

12.15-13.15 น.
พักรับประทานอาหาร

13.15-14.30 น.
หมวดที่ ๔ การป้องกันและควบคุมอันตราย
– การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
– การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
– การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บวัสดุ
– การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ

14:30-14:45 น.
พักเบรค

14:45-16:45 น.
– การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
– การป้องกันควบคุมอันตรายจากสารเคมี
– การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
– การป้องกันควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
– การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

logo จปไทย - master

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by Jorporthai