จป. หัวหน้างาน คือ

by prawit
169 views
1.จป หัวหน้างาน คือ

จป. หัวหน้างาน หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่

หน้าที่ของ จป. หัวหน้างานตามกฎหมาย หลังจากผ่านการ อบรม จป. หัวหน้างาน

(๑) กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน

2.ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงม

(๕) กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(๖) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างาน

3.กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างาน

ตามที่กระทรวงแรงงานได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ ประเภทกิจการหรือสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายบังคับ กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้แก่ กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

๑. การทําเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

๒. การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

๓. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

๔. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

๕. สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

๖. โรงแรม

๗. ห้างสรรพสินค้า

๘. สถานพยาบาล

๙. สถาบันทางการเงิน

๑๐. สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

๑๑. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

๑๒. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

๑๓. สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๒

๑๔. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด

กฎหมายอ้างอิง

กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Copyright @2024 Jorporthai.  Developed website and SEO by iPLANDIT