ลงทะเบียน อบรม จป. บุคคลทั่วไป

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้

สิงหาคม – กันยายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
15-16 ส.ค
จป หัวหน้างาน
11-12 ก.ย
จป บริหาร
6-7 ส.ค
จป บริหาร
5-6 ก.ย
คปอ
8-9 ส.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
10-11 ก.ย
จป หัวหน้างาน
9-10 ต.ค
จป บริหาร
26-27 ส.ค
จป เทคนิค
19-23 ส.ค
คปอ
6-7 ส.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

สิงหาคม – กันยายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
22-23 ส.ค
จป หัวหน้างาน
23-24 ก.ย
จป บริหาร
29-30 ส.ค
จป บริหาร
27-28 ก.ย
คปอ
10-11 ก.ย

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ปราจีนบุรี

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
21-22 ส.ค
จป หัวหน้างาน
16-17 ต.ค
จป บริหาร
18-19 ต.ค
คปอ
23-24 ส.ค
คปอ
25-26 ต.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

จป ชลบุรี

สิงหาคม – กันยายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
19-20 ส.ค
จป บริหาร
23-24 ส.ค
จป เทคนิค
26-30 ส.ค
คปอ
21-22 ส.ค

ราคา : 2,000 บาท/ท่าน

PR โรงแรม จป สมุทรปราการ

สิงหาคม – กันยายน 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
14-15 ส.ค
จป บริหาร
14-15 ส.ค
จป บริหาร
16-17 ก.ย
คปอ
16-17 ส.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

กันยายน – ตุลาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
10-11 ก.ย
จป บริหาร
10-11 ก.ย
คปอ
12-13 ก.ย
คปอ

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

สิงหาคม – ตุลาคม 2567

หลักสูตร
วันที่
สมัคร
จป หัวหน้างาน
28-29 ส.ค
จป บริหาร
26-27 ส.ค
จป บริหาร
30-31 ต.ค
คปอ
30-31 ส.ค

ราคา : 2,300 บาท/ท่าน

สงวนสิทธิ์ที่นั่งสำหรับลูกค้าที่ชำระเงิน และ ยืนยันลงทะเบียนในระบบก่อน

อบรม จป. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยภายในองค์กรบริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

อบรม-จป-หัวหน้างาน

จป. หัวหน้างาน

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน

อบรม-จป-บริหาร

จป. บริหาร

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร

อบรม-คณะกรรมการความปลอดภัย-คปอ

คณะกรรมการ (คปอ.)

หลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หลักเกณฑ์ และ ขั้นตอนการเรียน จป  รายละเอียด >

บริการ 77 จังหวัดทั่วไทย

หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป)

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เลขที่ใบอนุญาตศูนย์ฝึกอบรมเลขที่ 13-66-043

ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001

BSI Certify Number: FS 718832

ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ

คำถามที่พบบ่อย อบรม จป หัวหน้างาน อบรม จป บริหาร

มาตรา 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดําเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้นําบทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 10 มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน โดยอนุโลม

บทลงโทษ คือ มาตรา 56 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 มาตรา 16 หรือมาตรา 32
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน

(๑) กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
(๕) กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(๖) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

หน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
(๑) กํากับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
(๒) เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(๔) กํากับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการหรือหน่วยงานความปลอดภัย

บทบาทหน้าที่ของ คปอ.11 ข้อ
1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
11.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ตามกฎหมายการได้มาซึ่ง คปอ นั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งตามสัดส่วนของจำนวนลูกจ้างตามภาพด้านล่าง

สัดส่วน คปอ

คปอ นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกค้าตามสัดส่วนที่เท่ากันจำนวน คปอ ที่จะต้องมีในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 50-99 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 5 คน สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100-499 คน ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 7 คน สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มี คปอ. ไม่น้อยกว่า 11 คน 

อ้างอิง: thaihealth

 

หลักสูตรอบรม จป หัวหน้างาน อบรม จป บริหาร สำหรับพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในระดับหัวหน้างานเช่น ผู้หัวหน้าแผนก หัวหน้าทีม หัวหน้าชุด หรือ พนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในระดับผู้บริหารเช่น ผู้จัดการแผนก ผู้จัดการฝ่าย

ทั้งนี้จะต้องเป็นสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่าย 14 ประเภท ตามที่ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนด ซึ่งหากคุณทำงานอยู่ในระดับผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน ผู้จัดการ ของบริษัท หรือ สถานประกอบกิจการองค์กรจะต้องส่งพนักงานระดับดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้างาน หรือ ผู้บริหาร

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรการอบรม จป หัวหน้างาน กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. จะต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน เช่น หัวหน้าชุด หัวหน้ากะ ผู้ควบคุมงาน หรือ ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น
  2. ต้องเข้ารับการอบรม จป หัวหน้างาน / อบรม จป บริหาร 12 ชั่วโมง ( 2 วัน )
  3. กฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่อง อายุ ระดับการศึกษา หรือคุณสมบัติอื่น
  • วิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานตามหลักแล้วลูกจ้างที่เข้ารับการอบรม จป หัวหน้างาน , อบรม จป บริหาร ส่วนใหญ่มีการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานด้านการควบคุมลูกน้อง รวมถึงเรียนรู้การทำงานในด้านเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมาพอสมควร เมื่อทำงานถึงระยะเวลาหนึ่ง ก็สามารถไปทำงานเสริมหรือสมัครงานใหม่เป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานได้เช่นกัน หากคุณสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่เคยพบเจอในการทำงาน มาแบ่งปันและสอนให้กับกลุ่มลูกจ้างระดับผู้บริหารรุ่นใหม่ ๆ ต่อได้
  • ทำงานในหน่วยงานและสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น สสปท หรือสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ทำงานในฝันของผู้ที่ผ่านการอบรม จป หัวหน้างาน จป บริหาร ที่มีความรู้ความสามารถหลายปียิ่งผ่านงานเฉพาะทางมาแล้วย่อมสามารถถ่ายทอดความรู้ต่างๆได้ดี บุคคลเหล่านี้เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานที่ใหญ่ อีกทั้งยังมีตำแหน่งฝ่ายงานที่หลากหลายมากรอรับอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายงานวิชาการที่ดูแลด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ฝ่ายงานวิจัยที่ทำงานวิจัยและสนับสนุนหน่วยงานเอกชนในการให้บริการงานวิจัย ฝ่ายงานฝึกอบรมที่คอยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็น่าสนใจสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรม จป หัวหน้างาน อบรม จป บริหารแล้วทั้งสิ้น

หากคุณสมัคร และ ผ่านหลักสูตรอบรม จป หัวหน้างาน จป บริหารของเรา คุณจะได้รับการวุฒิบัตรรับรองอย่างเป็นทางการ และ สามารถสมัครงานในตำแหน่งอื่น ๆ ในสายงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หรือเข้ารับตำแหน่ง ผู้ช่วย จป. ได้ทันทีในกรณีต้องการย้ายสายงานนี่คือจุดเริ่มต้นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีเช่นกัน

สิ่งที่จะได้หลังจบอบรมคือความเข้าใจหลักการคิดวิเคราะห์แยกแยะความเป็นอันตรายซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงพื้นที่การทำงานให้ปลอดภัยได้รวมถึงเลือกใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีที่เหมาะสมตามมาตรฐาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

(1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

(2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

(3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

(4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

(5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

(6) โรงแรม

(7) ห้างสรรพสินค้า

(8) สถานพยาบาล

(9) สถาบันทางการเงิน

(10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

(11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

(12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

(13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)

(14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

อบรม-จป-footer-2023

ติดตามกิจกรรมดีดี

ช่องทางการติดต่อสื่อสารและข่าวสารทางออนไลน์

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by Jorporthai