ก่อนที่เราจะพูดถึงความสำคัญของการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย เราต้องรู้ก่อนว่าอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยคืออะไร ซึ่งอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ในแวดวง จป. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มักเรียกสั้นๆ ว่า PPE ย่อมาจาก Personal Protective Equipment เมื่อฟังดูแล้ว เหมือนจะเข้าใจง่าย แต่เมื่อเราบอกกับพนักงานว่า สวมใส่ PPE ตลอดเวลาการทำงาน แต่เรารู้หรือไม่ว่า พนักงานรู้ด้วยไหมว่า PPE คืออะไร จากการอบรมพนักงาน และสอบถามว่า รู้ไหม PPE คืออะไร คำตอบที่ได้คือ พนักงาน ประมาณ 20 % เท่านั้น ที่สามารถตอบได้ ว่า PPE คืออะไร เราจึงต้องสื่อสารให้พนักงานเข้าใจโดยสรุปว่า PPE ย่อมาจาก Personal Protective Equipment แปลว่า อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
PPE แบ่งได้หลายชนิด ตามส่วนของร่างกายที่ใช้สวมใส่ ได้แก่
2.1 อุปกณ์ป้องกันศีรษะ ใช้ป้องกันศีรษะจากอันตราย เช่น กันศีรษะกระแทก กันสิ่งของตกใส่ศีรษะ เช่น หมวกนิรภัย (Helmet)
2.2 อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา ใช้ป้องกันอันตรายที่จะมาสัมผัสกับใบหน้าและดวงตา ของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอุปกรณ้องกันใบหน้าและดวงตา มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำ ต้องใช้ให้ถูกประเภท ของงานด้วย เช่น แว่นตานิรภัย กระบังหน้า เป็นต้น
2.3 อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน ใช้ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือและแขนของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ ปลอกแขนต่างๆ ตามประเภทของงานที่ปฏิบัติ
2.4 อุปกรณ์ป้องกันขาและเท้า ใช้ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับขาและเท้าของผู้ปฏิบัติงาน เช่น รองเท้านิรภัย ปลอกขา เป็นต้น
2.5 อุปกรณ์ป้องกันลำตัว ใช้ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลำตัว เช่น ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมี หรือความร้อน ความเย็น จากการปฏิบัติงาน
2.6 อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ใช้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจของผู้ปฏธิบัติงาน เช่น หน้ากากกันสารเคมีชนิดมีไส้กรอง หน้ากากงานเชื่อม เป็นต้น
2.7 อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากเสียงดัง ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับ เช่น ที่ครอบหูลดเสียง ที่อุดหูลดเสียง ซึ่งการเลือกใช้อุปกรณ์ลดเสียง ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะเสียงที่พนักงานได้รับด้วยเช่นกัน
2.8 อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ใช้ป้องกันการตกจากที่สูงของผู้ปฏิบัติงาน เช่น เข็มเข็ดนิรภัย เชือกช่วยชีวิต เป็นต้น
ซึ่งการกำหนดประเภทของ PPE ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติงานด้วย เช่น หากปฏิบัติงานกับสารเคมี กำหนดว่า ต้องสวมแว่นครอบตากันสารเคมี สวมอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ สวมถุงมือกันสารเคมี ซึ่งหากเราระบุแค่ว่าต้องสวมถุงมือ พนักงานอาจจะสวมถุงมือผ้า ซึ่งหากใช้ไม่ถูกประเภท คำว่า PPE ก็ไม่มีความหมาย เพราะไม่สามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงานได้
นอกจากจะคำนึงถึงการใช้งาน PPE ที่ถูกต้องตามประเภทของงานแล้ว ต้องใช้ PPE ที่ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยสามารถดูได้จาก “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554”
จากประสบการทำงานที่ผ่านมา มักพบว่า พนักงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย ตามที่บริษัทกำหนด แล้วเหตุผลคืออะไร ทำไม่พนักงานถึงไม่สวมใส่ จากการสอบถามพบว่า เหตุผลที่ไม่สวมใส่ เช่น ลืม ร้อน ไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน ไม่ตระหนักถึงความปลอดภัย ซึ่งเหตุผลทั้งหมดที่พูดมา บริษัทอาจไม่สามารถควบคุมได้ 100% แต่สามารถแก้ไขได้ โดยยึดหลักของการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน ซึ่งหลักของการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน มีอยู่ 3 วิธี ด้วยกัน ได้แก่
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นอุปกรณ์ที่ใส่ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย
ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย หรือ PPE นั้น มีความจำเป็นอย่างมากในงานที่มีความเป็นอันตราย เช่น งานที่สูง หากผู้ปฏิบัติงาน ไม่สวมใส่เข็มขัดนิรภัย ในขณะปฏิบัติงาน อาจตกลงมาทำให้เสียชีวิตได้ หรืองานในที่อับอากาศ ซึ่งถือว่าเป็นงานที่มีอันตรายสูงมาก นอกจากผู้ปฏิบัติงาน จะต้องผ่านการฝึกอบรม และมีความชำนาญแล้ว PPE ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เช่น SCBA อุปกรณ์ป้องกันดวงตา เป็นต้น หรือในโรงงานทั่วไป หากมีการปฏิบัติงานกับสารเคมีสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ PPE เช่น แว่นครอบตากันสารเคมี ถุงมือกันสารเคมี อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เพราะหากเราปฏิบัติงาน โดยปราศจาก PPE แล้ว โอกาสจะเกิดอุบัติเหตุ ย่อมมีแน่นอน เช่น สารเคมีกระเด็นเข้าตา หรือถูกผิวหนัง ซึ่งหากเราสวมใส่ PPE แล้ว หากสารเคมีกระเด็น จะไม่สัมผัสส่วนของร่างกาย แต่จะถูกป้องกันโดยอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เราใส่นั่นเอง และ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ยังกำหนดไว้ด้วยว่า “ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาการทำงาน ในกรณที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้น จนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว”
สรุป: จากข้อความข้างต้น จะเห็นว่า เรื่องความปลอดภัย ไม่ใช่หน้าที่ของนายจ้างเพียงอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ของลูกจ้างด้วยเช่นกัน หากเราร่วมมือกันแล้ว ย่อมนำไปสู่ “อุบัติเหตุเป็นศูนย์” อย่างแน่นอน
ใครที่สนใจอบรม จป หัวหน้างาน หรือ จป ระดับต่างๆสามารถดูรายละเอียดได้ทางหน้าเว็ปไซต์ จป ไทย ยินดีให้บริการนำเสนอแผนการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป หัวหน้างาน จป บริหาร คปอ จปเทคนิค ให้กับคุณพร้อมทั้งนำเสนอส่วนลดสุดพิเศษอีกด้วยโดยการลด 40%