logo – masterlogo – masterlogo – masterlogo – master
  • อบรม จป
  • หลักสูตร อินเฮ้าส์
  • เรียนออนไลน์
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
✕

ppe ที่สูง

ทำงานบนที่สูงอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย

  1. งานที่สูงคืออะไร
“ทำงานในที่สูง” หมายความว่า การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่สูงจากพื้นดิน หรือจากพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งลูกจ้างอาจพลัดตกลงมาได้ โดยวัดจากพื้นถึงเท้าของผู้ปฏิบัติงาน
  1. อันตรายจากการทำงานในที่สูง
อันตรายจากการทำงานในที่สูง ที่พบได้มากที่สุด คือการพลัดตกจากที่สูง ซึ่งการพลัดตกจากที่สูงอาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือหากไม่เสียชีวิตก็อาจทำให้พิการได้ ซึ่งอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง มีสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ หน้ามืด เป็นลม โรคประจำตัวกำเริบ หรือเรื่องของมาตรการความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีจุดยึดเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต เป็นต้น 
  1. ใครบ้างที่เสี่ยงต่ออันตรายจากการทำงานในที่สูง
การทำงานที่สูงในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ มักใช้ผู้รับเหมาในการทำงาน แทนการใช้พนักงานของบริษัทเองเนื่องจากการปฏิบัติงานในที่สูง เป็นงานที่อันตรายและต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ จึงทำให้บริษัทส่วนใหญ่เลือกใช้ผู้รับเหมา เพราะผู้รับเหมาจะมีเครื่องมือและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ครบถ้วน แต่หากบริษัทที่มีการทำงานในที่สูงเป็นประจำ ก็อาจกำหนดให้มีพนักงานที่ทำงานในที่สูงโดยเฉพาะ โดยทำให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งงานที่สูงนั้นมีความเสี่ยงจากการพลัดตก ซึ่งผู้ที่มีโอกาสพลัดตกจากที่สูง เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง ขุดเจาะ เป็นต้น
  1. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานบนที่สูง ประกอบด้วย 
  • เข็มขัดนิรภัย
  • เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต 
  • หมวกนิรภัย
  • รองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง 
  • ถุงมือ
ในกรณีที่ให้ลูกจ้างใช้เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ประกอบ ต้องจัดทำจุดยึดตรึงเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตไว้กับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร หรือโครงสร้างอื่นที่มีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัยต่อการใช้งานนอกจากกำหนดชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่แล้ว ต้องดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานด้วย และบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด รวมถึงต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ให้มีความปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และเก็บหลักฐานการตรวจสอบไว้ด้วย
  1. การทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
การทำงานบนที่สูงเป็นงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานโดยมาตรการความปลอดภัยมีอยู่หลายมาตรการด้วยกันได้แก่
  • ผู้ที่ทำงานในที่สูงต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง เพื่อให้
สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
  • การตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่สูง เพื่อยืนยันว่ามีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ที่อาจส่งผลต่อ
ร่างกายในขณะที่ทำงานในที่สูง 
  • ต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในที่สูง อย่างน้อยต้อง
ประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และควบคุมให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม
  • ต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือดำเนินการด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน โดยต้องมีความมั่นคง
แข็งแรง และปลอดภัย
  • กรณีทำงานในที่สูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป ต้องจัดทำราวกันตกหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์
ป้องกันอื่นที่เหมาะสม ต้องจัดให้มีการใช้เข็มขัดและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ตลอดเวลาการทำงาน
  • ในกรณีที่มีปล่องหรือช่องเปิด ที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตก ต้องทำราวกั้นหรือรั้วกันตก และราวกั้นหรือรั้ว
กันตก ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตรายให้เห็นชัดเจน
  • ห้ามให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงนอกอาคารหรือพื้นที่เปิดโล่ง ในขณะที่มีพายุฝนตกหรือฟ้าคะนอง
จากมาตรการที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการทำงานในที่สูง ได้มีกฎหมายออกมาบังคับใช้  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 ซึ่งหากอยากทราบรายละเอียดทั้งหมด สามารถศึกษาได้จากกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว

สรุป

การทำงานในที่สูง มีความเสี่ยงจากการพลัดตก ทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องได้รับการอบรมถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และนอกจากการอบรมแล้ว นายจ้างยังต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ และต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง บริการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานหลักสูตร
  • อบรม จป หัวหน้างาน
  • อบรม จป บริหาร
  • อบรม คปอ
  • อบรม จป เทคนิค
Share

รับความช่วยเหลือทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือ นัดหมายการบริการ
โทร: 091 – 887 – 5136
โทร: 02 – 010 – 3522


เพิ่มเพื่อน

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด (ออฟฟิศ ปทุมธานี) 
ที่อยู่ 98/16 หมู่ 18 ถนนเชียงราก ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
(TU dome plaza ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต) ชั้น 3

Copyright 2021 © Safesiri (JORPORTHAI)
  • บทความ
  • อบรม จป หัวหน้างาน
  • อบรม จป บริหาร
  • อบรม จป เทคนิค
  • อบรม คปอ
  • อบรม จป